ตัวอย่างแแผนการเรียนรู้ แบบ WWS MODEL

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา                   วิชา วิทยาศาสตร์    ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อหน่วย อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น                                เวลาเรียน 5 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ตัวต้านทาน                   เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวจิราวรรณ วงษ์ชมภู                            โรงเรียน…………………………………
วัน…………… ที่…….. เดือน…………….. พ.ศ.………….         เวลาที่สอน……………………………..
หมายเหตุ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………
*******************************************************************************
1. มาตรฐานการเรียนรู้ (มาตรฐาน/ตัวชี้วัด)
          มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
          ตัวชี้วัด              
          1. (ว5.1 ม.3/5) อธิบายตัวต้านทาน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และทดลองต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นที่มีทรานซิสเตอร์
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
          1. อธิบายหลักการทำงานของตัวต้านทานและความต้านทานของตัวนำไฟฟ้าได้ (K)
          2. สังเกตแถบสีตัวต้านทานไฟฟ้าและคำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้าได้ (P)
          3. มีความสนใจใฝ่รู้อยากรู้อยากเห็น (A)
3. สาระการเรียนรู้
          ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวต้านทาน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ มีสมบัติทางไฟฟ้าแตกต่างกัน ตัวต้านทำหน้าที่จำกัดกระแสไฟฟ้าผ่านได้ทิศทางเดียว และทรานซิสเตอร์เป็นสวิตซ์ปิด-เปิดวงจร
4. สาระสำคัญ
          ตัวต้านทานไฟฟ้า (Resister) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ซึ่งถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากจะมีความต้านทานน้อย ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อยแสดงว่าความต้านทานมาก ปัจจัยที่มีผลต่อความต้านทานของลวดตัวนำไฟฟ้า ได้แก่ ชนิดของตัวนำไฟฟ้า ขนาดของตัวนำไฟฟ้า ประเภทของตัวต้านทานไฟฟ้า โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวต้านทานคงที่ และตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้   
          ตัวต้านทานทรงกระบอกจะมีแถบสีต่างๆบนกระบอกเพื่อแสดงว่าความต้านทานแต่ละอันมีค่าความต้านทานเท่าไร หรืออยู่ในช่วงของความต้านทานเท่าไร (ค่าต่ำสุด- สูงสุด)วงจรตัวต้านทาน (Resistor Circuit) คือการต่อตัวต้านทานแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปวงจร สามารถจัดวงจรตัวต้านทานได้ 3 แบบ คือ วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม (Series Resistor Circuit) เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไปชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวต้านทานที่นำนำมาต่อเพิ่ม
วงจรตัวต้านทานแบบขนาน (Parallel Resistor Circuit) เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อคร่อมร่วมกัน 2 จุด การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรลดลง ได้ค่าความต้านทานรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร วงจรตัวต้านทานแบบผสม (Compound Resistor Circuit) เป็นการต่อตัวต้านทานร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวต้านทานแบบผสมไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตาม

บทบาทครู
1. P: Plan (วางแผน)
     1.1 W:  Worth (ความรู้ที่มีคุณค่าที่จะเรียนรู้)
          - วิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัด เพื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
          - กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
              ด้านความรู้ (K)
อธิบายหลักการทำงานของตัวต้านทานและความต้านทานของตัวนำไฟฟ้าได้
    ด้านทักษะ (P)
สังเกตแถบสีตัวต้านทานไฟฟ้าและคำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้าได้
              ด้านเจตคติ (A)
มีความสนใจใฝ่รู้อยากรู้อยากเห็น
     1.2 CN: Cognitive Network (การศึกษาหาความรู้)
          - จัดทำใบความรู้ เรื่อง ตัวต้านทานไฟฟ้า
          - จัดทำ Power point เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า
     1.3 AN: Assessment Network (การแสวงหาความรู้)
          - สร้างแบบประเมิน เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า

2. M: Management (การจัดการชั้นเรียน)
     2.1 W: Way (เส้นทางนำไปสู่ความรู้)
          - วางแผนการจัดการเรียนรู้
                   สังเกตแถบสีตัวต้านทานไฟฟ้า
ใบความรู้ เรื่อง ตัวต้านทานไฟฟ้า
                    Power point เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า
     2.2 CN: Cognitive Network (การศึกษาหาความรู้)  
- ใบความรู้ เรื่อง ตัวต้านทานไฟฟ้า
- Power point เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า
     2.3 SN: Strategic Network (เลือกกลวิธีการเรียนรู้/ทางเลือกในการเรียนรู้)
          - สังเกตแถบสีตัวต้านทานไฟฟ้า
          - คำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้า
          - แบบฝึกหัด การอ่านค่าแถบสีบนตัวต้านทานไฟฟ้าและการคำนวณหาความต้านทานไฟฟ้า

 3. E: Evaluation (ประเมิน)
     3.1 S: Success (สำเร็จ, บรรลุ)
          - ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                   สัตเกตการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
                   การทำแบบฝึกหัด เรื่องการอ่านค่าแถบสีบนตัวต้านทานไฟฟ้าและการคำนวณหาความต้านทานไฟฟ้า
                   สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
     3.2 SN: Strategic Network (เลือกกลวิธีการเรียนรู้/ทางเลือกในการเรียนรู้)
- สังเกตแถบสีตัวต้านทานไฟฟ้า
- คำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้า
- แบบฝึกหัด การอ่านค่าแถบสีบนตัวต้านทานไฟฟ้าและการคำนวณหาความต้านทานไฟฟ้า
     3.3 AN: Assessment Network (การแสวงหาความรู้)
          - สร้างแบบประเมิน เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า
บทบาทนักเรียน
1. D: Design (ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้)
          - กิจกรรม/ภาระงาน
                   สังเกตแถบสีบนตัวต้านทานไฟฟ้า
                   คำนวณหาค่าความต้านทานไฟฟ้า
          แบบฝึกหัด การอ่านค่าแถบสีบนตัวต้านทานไฟฟ้าและการคำนวณหาความต้านทานไฟฟ้า
          - วิเคราะห์คุณภาพกิจกรรม/ภาระงาน (AN)
          - ศึกษาหาความรู้ (CN)
                   ใบความรู้เรื่อง ตัวต้านทานไฟฟ้า
                   Power point เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า
                   ตัวต้านทานไฟฟ้าแบบคงที่ (สื่อของจริง)
2. L: Learning (การเรียนรู้)
          - กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
          - ทางเลือกในการเรียนรู้ (SN)
                   ใบความรู้เรื่อง ตัวต้านทานไฟฟ้า
                   Power point เรื่องตัวต้านทานไฟฟ้า
                   ตัวต้านทานไฟฟ้าแบบคงที่ (สื่อของจริง)
          - ปฏิบัติการเรียนรู้
3. AS: Assessment (การตรวจสอบทบทวนตนเอง)
          - ตรวจสอบการทำกิจกรรม
          - ประเมินตนเองจากการทำกิจกรรม
          - ทบทวนกลวิธีในการเรียนรู้
          - แสวงหาความรู้เพิ่ม (AN)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น